วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

Kolkata Trip

Kolkata Trip



กัลกัตต้า เสน่ห์เมืองหลวงเก่าของอินเดีย ดินแดนแห่งประเพณี วัฒนธรรมรวมไปถึงธรรมชาติ อันงดงามชนิดที่ว่ายากต่อการหาที่ใดเหมือน แน่นอนว่ามนต์เสน่ห์แห่งกลิ่นอายเครื่องเทศคงจะมีแรงดึงดูดให้ใครหลายๆ คนออกไปผจญภัยอยู่บ่อยครั้งแน่นอน ใครหลายๆคนที่ว่านั้น ก้อไม่พ้นชั้นกับเพื่อนๆ ที่ทนแรงดึงดูดไม่ไหว ต้องออกไปเปิดประตูสู่โลกกว้าง คราวที่แล้วที่กลับมาจากเมืองชัยปุระ ยังไม่หนำใจค่ะ คราวนี้เราก็เลยวางแผนกันเป็นอย่างดี หลายคนคงอยากรู้กันแล้วใช่มั้ยว่าที่นี่มีอะไรเราถึงต้องออกเดินทางอีกครั้ง ตามเรามาเลยค่ะ



เราได้ตั๋วโปรโมชั่นจากหางแดงมา จองล่วงหน้าไว้ตั้งหลายเดือนได้เวลาเดินทางสักที ตามเรามาขึ้นเครื่องกันเลยค่ะ ค่ารถไฟ 800 รูปีต่อคนค่ะ





ขึ้นเครื่องมาได้ประมาณสองชั่วโมงครึ่ง เจ้านกยักษ์ก็กำลังจะพาเราลงแล้วค่ะ





กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ Terminal ตรงรันเวย์จะผ่านดับเพลิงค่ะ สนามบินที่กัลกัตต้าชื่อยาวมากกกเลยค่ะ Netaji Subhash Chandra Bose International Airport แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชาวอินเดีย ก็เรียกกันสั้นๆค่ะ ว่า Dum Dum Airport พอถึงสนามบินและผ่านขั้นตอนต่างๆ มาแล้ว ออกมาก็มีรถจากโรงแรมมารับค่ะ ครั้งนี้พักดีหน่อยค่ะ ได้ที่พักที่ Hyatt Regency


พอ ถึงสนามบินและผ่านขั้นตอนต่างๆ มาแล้ว ออกมาก็มีรถจากโรงแรมมารับค่ะ ครั้งนี้พักดีหน่อย ได้ที่พักที่ Hyatt Regency หลังจาก เช็คอินกับเก็บสัมภาระเรียบร้อยก็ได้เวลาท่องโลกค่ะ
เมืองกัลกัตตา เป็นเมืองที่มีเนื้อที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเมืองมุมไบ เคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในช่วงที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ มีประชากรหนาแน่นมากถึง 15 ล้านกว่าคน มีปัญหาคล้ายเมืองใหญ่ทั่วๆ ไป คือผู้คนยากจน เบียดเสียด ยัดเยียด เศรศฐกิจไม่ดี สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เต็มไปด้วยขยะและรถติด เด็ดสุดค่ะ ไม่ใช่แค่รถติดอย่างเดียวนะ เสียงแตรก็มหากาฬมากค่ะ บีบกันไม่ได้หยุดหย่อน แต่คงเป็นเพราะวัฒนธรรมของที่นี่คือ เจอหน้าให้บีบแตรทักทาย ซึ่งต่างจากบ้านเรา ถ้าบีบขนาดนั้น จากถนนอาจจะเปลี่ยนเป็นสนามมวยแทน



ประมาณนี้ค่ะ แต่รูปนี้ไปเอาของคนอื่นเค้ามา ( อีกแล้ว ) ของตัวเองไม่ได้ถ่ายค่ะ



เมื่อ ออกจากโรงแรม จะเห็นว่าบ้านเมืองตึกรามบ้านช่องมีรูปทรงแบบยุโรป แต่ทรุดโทรมน่าใจหาย ผู้คนแออัดยัดเยียดกันตามท้องถนนและฟุตบาทจริงๆ เรากำลังจะพาทุกคนไปที่ Mother Teresa House กันค่ะ เราเดินมาจาก Park Street จะเดินมาเจอถนนที่รถรางวิ่งผ่าน ให้เลี้ยวซ้ายที่ที่หัวมุมถนนแล้วเดินต่อไปเลย แต่จากตรงนี้ยังต้องเดินออกไปไกลอีกพอสมควร


พอเลี้ยวซ้ายเดินมา จะเจอถนนที่คล้ายๆ พาหุรัดบ้านเรา ริมถนนมีแต่ร้านขายของตั้งกันจนแทบไม่เหลือทางเท้าให้เดิน เดินไปก็ก้มดูแผนที่ไปสักพักก็เจอค่ะ 54A ที่นี่จะเปิดให้เข้าได้ตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงเที่ยงตรง แล้วก็จะเปิดอีกทีตอน 3 โมงถึง 6 โมงเย็น แต่จะปิดทุกวันพฤหัสค่ะ
ขอเล่าประวัติของแม่ชีท่านหน่อยนะคะ ชื่อเดิมของท่านคือ Agnes Gonxha Bojaxhiu เกิดที่เมือง Uskub (อุซคูบ) ใน Ottoman Empire (จักรวรรดิออตโตมัน) ซึ่งในปัจจุบันคือเมือง Skopje ใน Republic of Macedonia (ประเทศมาซิโดเนีย) พ่อของแม่ชีเทเรซ่าเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างแห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นครอบครัวที่มีฐานะดี จากการค้า ในวัยเด็กแม่ชีเทเรซ่ามีบ้านสองหลังที่หมู่บ้านเล็กๆ ใน Skopje ในวัยเด็กท่านเป็นคนร่าเริงและชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ท่านและพี่สาวเป็นสมาชิกและนักร้องประสานเสียงของโบสถ์ในหมู่บ้าน ในปี ค.ศ. 1919 พ่อของท่านซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอันยุ่งเหยิงของ อัลเบเนียได้เสียชีวิตลงหลังจากกัลบมาจากการเข้าร่วมทานอาหารมื้อเย็นกับ เพื่อน โดยที่แพทย์ระบุว่าสาเหตุของการเสียชีวิตเกิดจากยาพิษ ขณะนั้นแม่ชีเทเรซ่า มีอายุเพียง 9 ขวบเท่านั้น หลังจากที่พ่อเสียชีวิต ฐานะของครอบครัวก็เปลี่ยนไป ทำให้ธุรกิจทั้งหลายถูกโกงไปโดยหุ้นส่วนของบริษัท ทำมห้ครอบครัวนี้สูญเสียทุกอย่างเหลือเพียงแต่บ้านเท่านั้น จึงทำให้ Drane แม่ผู้เข้มแข็งต้องเริ่มต้นทำงานเย็บปักถักร้อยเพื่อหาเลี้ยงและจุนเจือครอบ ครัว ในวัยเด็กของแม่ชีนั้นได้ให้ความสนใจในเรื่องราว ของคณะธรรมทูต ( มิชชันนารี) ที่ไปช่วยเหลือชุมชนและเผยแพร่ศาสนาในประเทศอินเดีย และเมื่ออายุ 12 ปี ท่านก็ตั้งมั่นว่าจะอุทิศตนเพื่อศาสนาเท่านั้น เมื่ออายุครบ 18 ปี ท่านจึงตัดสินใจบวชชีกับสำนักโลเรโต ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1929 แม่ชีเทเรซ่าก็ถูกส่งไปประเทศอินเดียและเริ่มฝึกหัดเป็นแม่ชีที่เมืองดาร์จี ลิ่ง แม่ชีเทเรซ่าสอนหนังสืออยู่ในกัลกัตตาอยู่ช่วงหนึ่งจนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1946 ขณะที่กำลังเดินทางไปดาร์จีลิ่ง ท่านได้พบเห็นชาวบ้านที่ยากจนและเจ็บป่วยในระหว่างการเดินทาง ทำให้ท่านตัดสินใจทำเรื่องขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษจากศาสนจักรแห่งกรุง วาติกันเพื่อก่อตั้ง คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม Missionaries of Charity ในกัลกัตต้า ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนก็เริ่มเรียกท่านว่า Mother Teresa
ต่อมาในปี ค.ศ. 1950 แม่ชีได้เริ่มก่อตั้งโครงการ Home for the dying โดยที่ ท่านจะช่วยพาคนที่กำลังนอนเจ็บและรอความตายตามท้องถนนเข้ามาอยู่ในบ้าน ทำความสะอาดร่างกายและให้การดูแลเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคนส่วนมากก็ล้วนแล้วแต่ใกล้จะเสียชีวิต ท่านก็ไม่ได้ต้องการต่อชีวิตให้แก่คนเหล่านั้น แต่แค่ต้องการให้พวกเค้าตายจาไปอย่างสงบและเป็นสุขโดยไม่ทุกข์ทรมาน ซึ่งขัดกับความเชื่อของฮินดู เพราะตามความเชื่อของฮินดู การตายเป็นเพียงการละสังขาร เป็นการปลดปล่อยตัวคนเพื่อการไปเกิดใหม่ นี่คือ 1 ในหลายๆ สิ่งที่แม่ชีเทเรซ่าได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ยากไร้
แต่ผลจากการช่วยเหลือสังคมและบุคคลอื่นด้วยจิตใจอันมีเมตตา ทำให้แม่ชีเทเรซ่าได้รับการสรรเสริญจากผู้คนทั่วโลก ได้รับรางวัลที่นานาประเทศมอบให้ เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์แก่ชาวอินเดีย ต่อมาในขณะที่แม่ชีอายุได้ 87 ปี ท่านก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจในบ้านของท่านเองที่อินเดีย โดยปกติแล้วเนี่ย ผ็หญิงอินเดีย โดยเฉพาะชาวต่างชาติ จะไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคมอินเดียสักเท่าไหร่ แต่รัฐบาลอินเดียได้จัดงานพิธีศพของแม่ชีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เทียบเท่ากับพิธีของผู้นำประเทศฯและบุคคลสำคัญของอินเดียซึ่งน้อยคนนักแม้ แต่คนอินเดียด้วยกันที่จะได้รับเกียรติเช่นนี้

เล่าซะยาวเลย นี่คือรูปปั้นของแม่ชีที่อยู่ที่นั่นค่ะ


ซิสเตอร์เหล่านี้กำลังเดินไปที่บ้านแม่ชี เพื่อทำพิธีตอนเย็นค่ะ


เรา ถ่ายได้แค่บริเวณด้านนอกเท่านั้นค่ะ เพราะข้างในไม่อนุญาตให้ถ่ายได้ค่ะ ทุกอย่างได้รับการเก็บและดูแลรักษา เป็นอย่างดี และปัจจุบันนี้ร่างของแม่ชีก็นอนสงบนิ่งและถูกรักษาไว้ที่นี่เป็นอย่างดีค่ะ ได้เวลาหาอาหารเย็นทานกันแล้วค่ะ


กว่า จะออกมาท้องฟ้าก็สีนี้แล้วล่ะค่ะ ไม่รู้ว่าจะทานอะไรดีก็เลยตัดสินใจว่ากลับไปทานอาหารเย็นกันที่โรงแรมค่ะ และหลังอาหารเย็นก็ห้องใครห้องมันแล้วล่ะค่ะ นอนเอาแรงก่อนพรุ่งนี้ยังต้องเดินอีกเยอะค่ะ


วัน ที่ 2 ของการเดินทางเรากำลังจะพาทุกคนไปดูพิพิธภัณฑ์อินเดียกันค่ะ บรรยากาศยามเช้าสดใสเชียวค่ะ ที่ย่าน Sudder Street


บรรยากาศ ด้านในของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ค่ะ พิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย เป็นตึกสองชั้น เก็บรวบรวมศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้าน รูปปั้น รูปภาพ สัตว์ป่าสตัฟฟ์ กระดูกสัตว์สมัยโบราณที่ขุดค้นพบ แมลง ของนั้นมีมากมายเหลือคณายิ่งใหญ่อลังการ แต่อยู่ในสภาพที่ดูแลไม่ดี ฝุ่นจับเขรอะ ชมไปก็จะเป็นลมไปด้วยอากาศร้อนอบอ้าว ในพิพิธภัณฑ์ไม่มีเครื่องปรับอากาศ แม้แต่พัดลมก็มีไม่เพียงพอ บ่งบอกถึงปัญหาค่าใช้จ่าย อ้อ...หากไปชมอย่าลืมเข้าห้องน้ำมาให้เรียบร้อย มิเช่นนั้นแล้ว กลิ่นที่ใครหลายๆคนไม่อยากจะสูดดมก็คงจะลอยเข้าจมูกอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้


จากบนระเบียงของชั้นสองค่ะ


ด้าน ในของพิพิธภัณฑ์ค่ะ สำหรับการเข้าชมต้องเสียค่าเข้าชม 150 Rp และผู้ที่ต้องการนำกล้องเข้าไปถ่ายภาพ จะต้องนำกล้องไปลงทะเบียน แล้วเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 50 Rp จะได้ป้ายมาแขวนที่กล้อง แนะนำว่า ควรเสียค่าธรรมเนียมเอากล้องเข้าไปนะคะ เพราะว่า ถ้าแอบเอาเข้าไปอาจจะเจอยามยึดกล้องได้ ตอนเราเข้าไปชม ในส่วนของห้องอียิปต์ มีเด็กอินเดียคนหนึ่งแอบหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายภาพ ซักพักเจ้าหน้าที่เดินมายึดมือถือไปเลย โหดมากๆ ผู้ดูแลทุกห้องต่างก็เล็งคนที่เอากล้องเขาไปทั้งนั้นดีที่เรามีป้ายแขวนเลย รอด
วันนี้ขอพักแค่นี้ก่อนนะคะ หมดเวลาแล้วค่ะ ไว้จะมาเขียนทริปนี้ต่อครั้งหน้านะคะ





By สายลมเดินทาง

ทัวร์อินเดีย   ทัวร์อินเดีย   ทัวร์อินเดีย  ทัวร์อินเดีย
ทัวร์เนปาล   ทัวร์เนปาล     ทัวร์เนปาล
ทัวร์ภูฏาน   ทัวร์ภูฏาน     ทัวร์ภูฏาน
ทัวร์ตะวันออกกลาง     ทัวร์ตะวันออกกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น