วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเดินทาง บาหลี – บุโรพุทโธ 5 วัน 4 คืน 28 ธันวาคม 2555 – 1 มกราคม 2556

บันทึกการเดินทาง บาหลี – บุโรพุทโธ 5 วัน 4 คืน

28 ธันวาคม 2555 – 1 มกราคม 2556



การเดินทางในครั้งนี้เราจะพาทุกท่านเหิรฟ้าสู่ประเทศอินโดนีเซียค่ะ  ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ 5 เกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ ๓๐ หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ ๖,๐๐๐ เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย


การเดินทางครั้งนี้เราใช้บริการของ สายการบิน GARUDA ค่ะ  เราออกจากกรุงเทพตอน 06.35 น. ไปถึงเมืองจาการ์ต้าตอน 10.10 น.  เพื่อแวะต่อเครื่องต่อไปยังเมืองเดนพาซาร์  หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่าบาหลีนั่นแหละค่ะ  พอถึงแล้วสิ่งหนึ่ง  ที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ  เวลาค่ะ  ที่บาหลีเวลาจะเร็วกว่าเมืองไทย  1 ชั่วโมงค่ะ  เพราะฉะนั้นปรับเวลาให้ตรงกันก่อนค่ะ  ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วอาจจะมีการผิดพลาดเรื่องการนัดหมายเอาได้นะคะ
วันที่หนึ่งของการเดินทางเราจะพาทุกท่านไปดูนกยักษ์กันค่ะ
พอลงเครื่องเสร็จเราก็มุ่งหน้าไปยังที่แรกของเราในทริปนี้เลยค่ะ  สวนวิษณุ (GWK Garuda Wisnu Kencana) ที่นี่มี  รูปแกะสลักพระวิษณุ ที่ทำจากทองแดงผสมทองสัมฤทธิ์หนักมากกว่า 400 ตัน องค์พระวิษณุเป็นลำตัวครึ่งท่อนบน  ที่ไม่มีแขน แขนและมือทั้งสองข้างจะไปวางอีกทีหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กันแต่ยังสร้างไม่เสร็จ หลังองค์พระวิษณุจะมีรูปแกะสลัก นกการูด้า ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ ดูจากแบบจำลองเมื่อ สร้างเสร็จ น่าจะยิ่งใหญ่มากจริงๆ สร้างๆหยุดๆมา 15  ปีแล้วค่ะ ปัญหาคือเรื่องเงินเนื่องจากรัฐบาลมีงบไม่เพียงพอก็เลยได้ดูเท่าที่เห็น เนี่ยแหละค่ะ
ชายหาดจิมบารัน อยู่ทางใต้ของคูต้า เป็นหาดทรายขาวสะอาดตัดกับทะเลสีคราม เป็นชายหาดที่ขึ้นชื่อของเกาะบาหลี  นอกจากเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จากการไปเล่นน้ำทะเล จูงมือเดินเล่นที่ชายหาดแล้ว ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องของร้านอาหารซีฟู้ดที่ตั้งเรียงรายอยู่ริมหาด สามารถเลือกได้ตามใจว่าจะนั่งมุมไหน  เหมาะกับการนั่งรับประทานพร้อมกับชมวิวพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า อีกมุมหนึ่งก็จะได้เห็นรันเวย์ของสนามบินบาหลีที่จะมีเครื่องบิน ขึ้นและลง อยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
วันที่ 2 ของการเดินทางเราจะไปดูระบำกับขึ้นภูเขาค่ะ
บารองแดนซ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายดีและปีศาจบารอง โดยฝ่ายดีเป็นคนครึ่งสัตว์ และรังดา เป็นฝ่ายอธรรม และมีสมุนของทั้งสองฝ่ายอีกหลายตัวและจะต่อสู้กันจนฝ่ายธรรมะเป็นฝ่ายชนะ
“ บารอง ” สัตว์ในเทพนิยายตามคติของฮินดู เป็นเสือหรือสิงห์อันเป็นสัญลักษณ์ของ ความดี เป็นการเชิดหุ่น แบบการเชิดสิงโตของจีน ใช้คนเชิดสองคนปกคลุมร่างกายด้วยชุดบารองอย่างมิดชิด ตัวบารองเป็นสัตว์ในตำนาน  ซึ่งมีหลังอานยางและหางที่งอนโค้ง และเป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณที่ดีงาม ซึ่งเป็นผู้ปกปักษ์รักษามนุษย์  การแสดงละครประเภทนี้เป็นอย่างเดียวกันกับโขนและละครหุ่น คือมีการ ใช้หน้ากากในตัวละครบางตัว เช่น ตัวลิงเพื่อนของบารอง ตัวภูตผีร้ายกับ ลูกสมุน และตัวชาวบ้านสามคน  ละครบารองมีการใช้ดนตรีประกอบตลอดการแสดง ซึ่งเป็นไปอย่างลงตัว ไม่ว่าในขณะที่มีการขับร้องเป็นเรื่องราวต่างๆ อย่างลิเกหรือละครร้องของเราหรือกระทั่ง ช่วงการเจรจาของตัวผู้แสดง จะใช้ดนตรีประกอบแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างดี  การจัดเวทีและฉากคงความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมแบบบาหลี ไว้ครบถ้วน สิ่งที่แตกต่างอย่างหนึ่งของเวทีละครของบาหลีคือจะมีทางเข้าออกฉากเพียงทาง เดียว คือตรงกลางเวทีที่จะทำเป็นรูปซุ้มประตูผ่าครึ่งกลาง แล้วมีบันไดลงมาที่เวที ในขณะที่หากเป็นเวทีของฉากละครทั่วไปจะมีทางเข้าออกฉากสองทางทั้งซ้ายขวา สองข้างซุ้มประตูจะต้องมี ทวารบาล ในแต่ละสถานที่มีทวารแตกต่างกันไป แต่เวทีที่โรงละครแห่งนี้เป็นรูปทหารอ้วนสองนาย นอกจากนี้ก็มีประกอบร่มแดงทั้งสองข้าง และประดับด้วยต้นไม้ใบไม้สด
อุรุดานู บราตาน (Ulun Danu Bratan Temple) วัด แห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามที่ตั้งคือทะเลสาปเบราตาน หมู่บ้านเบดูกัล (Bedugul) วัดอุรุดานู เบราตาน ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่ พระเจ้า เดวิ ดานู (Dewi Danu) เทพเจ้าแห่งสายน้ำตามความเชื่อทางศาสนาอินดู  ตัววัดถูกสร้างอยู่บนพื้นที่ผืนเล็กๆ ที่รายรอบไปด้วยแม่น้ำ  เบดูกัลตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลเป็นแหล่งที่พักตากอากาศ มีทะเลสาบที่สงบเงียบและถูกปกคลุมด้วยม่านหมอก เป็นทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟ  กุนุงบราตัน เป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญสำหรับไร่นาในแถบนี้ จึงมีพิธีบูชาเดวีดะเนา มีสนามกอล์ฟ 18 หลุม ที่ดีที่สุด แห่งหนึ่งในโลก  มียอดแหลมเป็นเหมือนฉัตร ๑๑ ชั้น เวลาแผ่นดินไหวยอดแหลมเคยหักและต้องซ่อมอยู่เสมอๆ
ปุราทามันอายุน (Pura Taman Ayun) เป็นวัดที่เคยเป็นวังเก่า สร้างตอนศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของกษัตริย์ราชวงศ์เม็งวี กำแพง ประตูวัด ก่อด้วยหินสูง แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง หลังคาปูด้วยหญ้าอลังการ สิ่งก่อสร้างด้านใน ตกแต่งลวดลายงดงามตามแบบบาหลี มีสระน้ำล้อมรอบ เป็นวัดสำหรับวรรณะกษัตริย์จึงมีหลังคา 11 ชั้นนับว่าเยอะที่สุดแล้วสำหรับวัดในบาหลี  สิ่งก่อสร้างที่หลังคาเป็นชั้น ทำจากต้นปาล์มเอามาตีแผ่เป็นเส้นนำมาคลุมทับจนหนามากสามารถทนแดดทนฝนได้ถึง สี่สิบปีจึงจะเปลี่ยน คติแนวคิดสื่อถึงพระเจ้าดูแลปกป้องทั้ง 8 ทิศ และโลกมนุษย์มี 3 ชั้น คือสวรรค์ พื้นดิน และใต้ดิน กำแพง ประตูวัด ก่อด้วยหินสูง แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง หลังคาปูด้วยหญ้าอลัง สิ่งก่อสร้างด้านใน ตกแต่งลวดลายงดงามตามแบบบาหลี มีสระน้ำล้อมรอบ
วันที่สามของการเดินทางวันนี้เราจะไปดูโรงงานผ้าบาติก ชิมกาแฟขี้ชะมด และต่อเครื่องไปยังเมืองยอกยากาตาร์กันค่ะ
วิหารทานาห์ล็อต วัดแห่งนี้ตั้งอยู่เหนือผืนดินบนแท่นหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของเกลียว คลื่น หอสีดำโดดเดี่ยว  และเถาไม้เลื้อย ยอดไม้ช่อใบที่ปกคลุมหน้าผาชวนให้นึกถึง ความอ่อนช้อยของภาพวาดจีน คูหาที่รายรอบวัดคือที่อาศัย  ของงูศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอยู่อย่างสันโดษโดยไม่ถูกรบกวน อนุญาตให้เข้าไปข้างในได้เฉพาะผู้มาสักการะเท่านั้น แต่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นชม ทัศนียภาพที่งามจับตายามอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้บนเขาลูกใกล้กัน ตามบันทึกตามประวัติศาสตร์ ทานาห์ล็อต สร้างโดย ดังห์ยัง นิราร์ตา นักบวชพราหมณ์ สมัยศตวรรษที่ 16 ซึ่งเดินทางจากชวามายังบาหลี ระหว่างทางที่รอนแรม นิราร์ตา มองเห็นแสงสว่างพวยพุ่งมาจากชายฝั่งตะวันตก จึงเดินทางไปที่ดังกล่าวเพื่อเจริญสมาธิ จนสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้แก่เหล่าสาวกของนักบวชในท้องถิ่น จึงพากันมาศึกษา ศาสนากับท่าน สร้างความขุ่นเคืองแก่นักบวชในท้องถิ่นอย่างมาก จึงพยายามท้าทายท่าน แต่ท่านยังคงถือขันติจึงย้ายที่บำเพ็ญเพียรไปยังมหาสมุทร สถานที่แห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักในนาม ทานาห์ล็อต หรือ “ดินแดนในทะเล” นิราร์ตาโยนผ้าคาดเอวลงสู่คลื่นให้กลาย เป็นอสรพิษศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่ายังคงอาศัยในโพรงใต้ฐานหินของตัววัด ชาวบาหลีระวังที่จะไม่รบกวนบรรดางู ซึ่งพิทักษ์วัดและป้องกันมิให้พลังร้ายมากร้ำกราย
โรงงานผ้าบาติก ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน และถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า“ คราทอน ” (kraton) เป็นผ้าบาติกที่นิยม  เขียนด้วยมือ (batik tulis) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกก็ได้ขยายวงกว้างขึ้นการผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลง ศิลปะการทำผ้า บาติกได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป  มีโอกาสได้ชมโรงงานผลิตผ้าบาติกอันลือชื่อของบาหลี ฝีมือและลวดลายของเขาเป็นเอกลักษณ์ที่ หาที่ไหนไม่ได้จริงๆ เมื่อก่อนเคยคิดว่าผ้าบาติกบ้านเราคุณภาพดีกว่า สวยกว่า ฝีมือเนี๊ยบกว่าแต่พอไปดูกรรมวิธี     ของเขาแล้ว ต้องยอมรับในฝีมือและวิธีการผลิตของเขาผ้าบาติกที่นี่ มีทั้งชนิดทำมือร้อยเปอร์เซ็นต์ กับชนิดพิมพ์ ชนิดทำมือ ก็มีทั้งทำเป็นลายเดียวกันทั้งสองหน้า กับหน้าเดียวมีทั้งผ้าค็อตตอนธรรมดา และผ้าไหม สนนราคาก็ไม่แพงเว่อร์จะซื้อผ้าบาติกคุณภาพดีและราคาสมเหตุสมผลแล้ว ต้องซื้อที่บาหลีเท่านั้น เพราะถ้าไปซื้อที่เมืองอื่นส่วนใหญ่มักจะเจอผ้าพิมพ์ลายบาติกมากกว่า
โรงงานผลิตกาแฟ ที่นี่ผลิตกาแฟขี้ชะมด (Kupi Luwak ) กาแฟขี้ชะมดถือว่าเป็นกาแฟที่อร่อยที่สุดในโลก เพราะผ่านการหมักในท้องชะมดมาแล้ว ทำให้ได้รสชาติพิเศษ ด้วยชะมดจะเลือกกินเฉพาะเม็ดกาแฟที่ดีที่สุดเท่านั้น ไม่ย่อยสลายยังคงสภาพเป็นเมล็ดกาแฟ  ทำให้กาแฟชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษจะหอม และ มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์  ต่างจากกาแฟทั่วไป พอไปถึงทางร้านจะชงกาแฟและชาสมุนไพรต่างๆ ลำเลียงมาให้ชิม ในแต่ละถ้วยจะมีไม้เล็ก ๆ ใส่ไว้แทนช้อนกาแฟเป็นเปลือกไม้ที่คนเอเซียจะคุ้นเคยในอาหารคาวแต่สำหรับ ชาวตะวันตก เปลือกไม้ชนิดนี้ จะใช้ในขนมและเครื่องดื่มเปลือกไม้ชนิดนี้คือ ซินนามอน หรือ อบเชย นั่นเอง ชิมกาแฟกันเรียบร้อยแล้วทีนี้ก็ได้เวลาอาหารกลางวันแล้วค่ะ  เราจะขึ้นเขาไปทานอาหารกลางวันกันที่หมู่บ้านคินตามณีค่ะ
ภูเขาไฟคินตามณี หมู่ บ้านที่ตั้งอยู่ริมปากปล่องภูเขาไฟกุนุงบาตูร์ มีทะเลสาบบาตูร์ และภูเขาไฟกุนุงบาตูร์ เป็นฉากหลังซึ่งนับเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของบาหลี และภูเขาไฟคินตามณีจะทำให้ตะลึงกับความงามของขุนเขา ที่งดงามราวสรวงสวรรค์  ภูเขาไฟคินตามานี เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 บนเกาะบาหลี ในอดีตที่ผ่านมา ภูเขาไฟคินตามณีเคยเกิดการระเบิด ได้พ่นลาวาทำความเสียหายนับพันชีวิต และทรัพย์สินให้แก่ชาวบาหลีไปไม่น้อย ปัจจุบันภูเขาไฟคินตามานี กลับเป็นจุดดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวอย่างมาก  ภูเขาไฟคินตามณีแห่งนี้ ตามภาษาราชการเรียกว่า Mount Batur มีความสูง 1,171 เมตร อยู่ติดกับทะเลสาป มีชื่อว่า Batur เหมือนกันกับชื่อภูเขาไฟ มีพื้นที่ประมาณ 16.07 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นทะเลสาป ที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะแห่งนี้  คินตามาณีเพี้ยนมาจาก ชื่อของหญิงชาวจีนที่ชื่อ คังฉีหมิง ที่แต่งงานกับเจ้าชายบาหลี เพื่อเป็นการระลึกถึงเธอ ชื่อเธอจึงถูกตั้งเป็นชื่อภูเขา ปัจจุบันนี้ยังสามารถมองเห็นเถ้าสีดำ ที่เหลืออยู่ซึ่งแสดงถึง ร่องรอยการระเบิด ในอดีตทะเลสาป Batur เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญต่อการเกษตรและแหล่งเลี้ยงปลาน้ำจืด
Tempak siring วัดน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ วัด น้ำพุศักดิ์สิทธิ์ หรือ Pura Tirta Empul ในวัดจะมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งผุดพรายน้ำขึ้นมา ชาวบาหลีล้วนเคารพบูชาวัดนี้ด้วยเชื่อว่ากำเนิดมาจากพระอินทร์ เทพแห่งฮินดูซึ่งสร้างหลุมบนโลกให้เป็นตีร์ตา น้ำอันเป็นยาอายุวัฒนะหรือน้ำอำมฤตที่ทรงใช้ฟื้นทหารเทพซึ่งถูกราชาอสูรวาง ยาพิษในบ่อแห่งนี้ก็จะมีน้ำผุดพรายขึ้นมาตลอดและความใสที่สามารถมองเห็นไป ถึงก้นสระได้ น้ำในบ่อนี้ ไม่ว่าหน้าฝน หน้าหนาว หน้าใดๆ ระดับน้ำ ก็จะไม่เปลี่ยนแปลง คงอยู่เท่าเดิมสถานอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ส่วนหน้าของวัดสร้างขึ้นในศตวรรษ ที่ 10 ว่ากันว่าน้ำที่ไหลพุ่งผ่านท่อมากมายนั้นมีพลังวิเศษบำบัดโรคได้ผู้คนจาก ใกล้ไกลจึงดั้นด้นมาถวายเครื่องบูชาแด่เทพประจำสระแล้วลงอาบชำระตนให้ บริสุทธิ์หรือบ้างก็เก็บน้ำไปดื่มกินเพราะเชื่อว่าน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์ แห่งนี้สามารถรักษาโรคต่างๆ ขับไล่สิ่งเลวร้าย และจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จบจากที่นี่เราก็ต้องเตรียมตัวไปสนามบินกันแล้วค่ะเนื่องจากต้องต่อเครื่อง ไปยังเมืองยอกยากาตาร์ค่ะ
วันที่สี่ของการเดินทาง วันนี้เราจะพาทุกคนไปชมพุทธศาสนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองยอกยากาตาร์
วัดพรามนันต์ มรดกโลก วัดพรามนันต์ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านพรามนันต์ เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยชวาภาคกลาง ราว ค.ศ.ที่ 10 โดยพระเจ้าบาลีตุง แต่จากหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ ดีจี ฮอลล์ กล่าวว่า ผู้สร้างปรัมบานันน่าจะเป็นพระเจ้าทักษา กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสมัยชวาภาคกลาง ส่วนเหตุที่สร้างนั้นสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดในเทวาลัยแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุสานบรรจุพระ ศพของกษัตริย์และสมาชิกในพระราชวงศ์ วัดพรามนันต์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกใน ปี ค.ศ. 1991  วัดพรามนันต์ มีชื่อเรียกขาน (ภาษาถิ่น)  อีกอย่างหนึ่งว่า โลโรจงกรัง มีที่มาจากตำนานพื้นบ้าน ที่ว่ากันว่าโลโรกรังเป็นเจ้าหญิงแสนงาม (โลโรจงกรังภาษาถิ่นหมายถึงสาวร่างอรชร) จึงมียักษ์มาขอแต่งงานเจ้าหญิงไม่กล้าปฏิเสธ แต่ทรงขอให้ยักษ์สร้างจันทิให้ได้ 1 พันหลัง ถึงจะแต่งงานด้วย ยักษ์จึงใช้เวทมนตร์สร้างจันทิจนเกือบจะเสร็จสิ้น ส่วนเจ้าหญิงก็ใช้เวทมนตร์ทำลายจันทิเหล่านั้น เพราะไม่ต้องการแต่งงานด้วย ทำให้ยักษ์โกรธจึงสาปเจ้าหญิงให้กลายเป็นหิน แล้วนำรูปมาทำประติมากรรมประดิษฐาน  อยู่ในวัดแห่งนี้
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่าเป็นตำนานเร้นลับแห่งเทพเจ้าฮินดูทั้งสาม ต้นกำเนิดรามายณะและเจดีย์สามองค์ที่เรียงรายกัน อย่างงดงามโบราณสถานที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามมหัศจรรย์ตำนานเทพแห่ง ฮินดูและเรื่องราวของการกำเนิดพระพุทธศาสนาและพระพุทธเจ้า  พระโคนนทิ พาหนะของพระศิวะ วัวขาวบริสุทธิ์ สัตว์เทพผู้เป็นมงคลแห่งศาสนาพราหมณ์ ศาสนา ฮินดู สัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ ผู้เลี้ยงดูสรรพชีวิตด้วยนมจากบัญชาของพระศิวะมหาเทพ
วังสุลต่าน วังสุลต่าน พระราชวังอันสวยสดงดงามของกษัตริย์ องค์แรกจนกระทั่งองค์ปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยสิ่งของล้ำค่า และเครื่องใช้ต่างๆ ของกษัตริย์ ก่อนที่กษัตริย์องค์สุดท้ายจะลี้ภัย และเปลี่ยนการปกครอง อีกทั้งวังเมกะลังและเครื่องบรรณาการต่างๆ ห้องเก็บโบราณวัตถุ สิ่งล้ำค่าสมัยก่อนประวัติต่างๆ ที่มีความเป็นมาน่าศึกษา และมีค่าของอารยะธรรมชวา สภาพของวัง Malmoon นั้น  ตัวอาคารเป็นคอนกรีตกึ่งไม้ ๒ ชั้น สถาปัตยกรรมทรงปั้นหยาผสมตะวันตก ตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมบนคาบสมุทรมาลายูที่ผ่านการเป็นอานานิคมของฝรั่ง ซึ่งวัง Malmoon อายุร้อยกว่าปี เพราะก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1888  สภาพสนามหญ้าไม่ได้รับการตัดแต่ง เล่าความเป็นมาถึงราชวงศ์สุลต่าน ซึ่งสืบทอดมากว่า ๑๒ รุ่น
บุโรพุทโธ ( Borobudur ) พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร ตั้งอยู่บนเนินสูงของเกาะชวาภาคกลาง ห่างจากเมืองยอกยากาตาร์ ( Yogyakata ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร  ถือเป็นโบราณสถาานขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์รวมแห่งความภาคภูมิใจของชาวอินโดนิเซีย และชาวพุทธทุกคน  ซึ่งหวังจะไปแสวงบุญสักครั้งหนึ่งในชีวิตเจดีย์บุโรพุทโธรูปทรงดอกบัวนี้ก่อ สร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา หรือศิลปะชวาภาคกลางที่ผสมผสาานระหว่างอินเดียและอินโดนีเซียได้อย่างกลม กลืนที่สุด บุโรพุทโธเปรียบเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้น
ส่วนฐานของเจดีย์ประกอบด้วยขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น รอบ ๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงรอบฐานมีภาพนูนต่ำไม่น้อยกว่า 160 ภาพ  ส่วนนี้อยู่ในขั้นกามาธาตุ หรือขั้นตอนที่มนุษย์ยังผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความสุขความร่ำรวยทางโลก
ส่วนที่สอง คือส่วนบนของฐานที่มีบันไดรูปกลม ฐาน 6 ชั้นที่มีรูปสลักนูนต่ำเกือบ 1,400 ภาพที่แสดงพุทธประวัติ ถือเป็นขั้นรูป ธาตุ คือขั้นตอนที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกมาได้บางส่วน
ส่วนที่สามคือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์เล็ก ๆ 3 ขั้นล้อมรอบสถูปองค์ใหญ่ทึ่สุดที่หมายถึงจักรวาล คือขั้นอรูปธาตุ ที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป ปัจจุบันบุโรพุทโธจัดเป็นมรดกของยูเนสโกที่มีความลี้ลับมหัศจรรย์ทั้งทาง ด้านการก่อสร้างสถาปัตยกรรมรูปทรงภายนอก และมหัศจรรย์ในด้านสัญลักษณ์และความหมายที่รอให้มนุษย์ได้ศึกษาตีความกันต่อ ไป
คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายในอินโดนีเซียของพวกเราแล้วค่ะ  ทานจนเพลินเลยไม่มีรูปอาหารคาวเลยค่ะมีแต่ของหวานและที่พักของเราในทริปนี้ค่ะ
วันสุดท้ายของการเดินทางค่ะ
วันนี้เราออกจากโรงแรมประมาณ 10.30 น. ออกเดินทางไปยังสนามบินเพื่อไปยังเมืองจากาตาร์  และต่อเครื่องเพื่อกลับกรุงเทพอย่างสวัสดิภาพ พร้อมความประทับใจค่ะ


ที่มา - http://www.himalaicenter.com


ทัวร์บาหลี   ทัวร์บาหลี   ทัวร์บาหลี  ทัวร์บาหลี
ทัวร์เวียดนาม   ทัวร์เวียดนาม   ทัวร์เวียดนาม  ทัวร์เวียดนาม
ทัวร์มาเลเซีย   ทัวร์มาเลเซีย   ทัวร์มาเลเซีย  ทัวร์มาเลเซีย
ทัวร์สิงคโปร์   ทัวร์สิงคโปร์   ทัวร์สิงคโปร์  ทัวร์สิงคโปร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น