วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ทัวร์อินเดีย ออโรวิลล์ เมืองที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข



ออโรวิลล์  ประเทศอินเดีย
อินเดีย...เป็นอีกประเทศที่เก่าแก่และมีเสน่ห์มนต์ขลังไม่แพ้ชาติใดในโลก ทัวร์อินเดีย จึงไม่แปลกหากประเทศแห่งนี้ จะเป็นอีกสถานที่ซึ่งใครหลาย ๆ คนใฝ่ฝันจะไปสัมผัสกับความงามด้วยตาตัวองสักครั้ง อย่างไรก็ตาม ทัวร์อินเดียหากคุณมีโครงการจะไปอินเดียเร็ว ๆ นี้ ทัวร์อินเดีย แต่ยังไม่รู้จะวางแผนการเที่ยวอย่างไรดี วันนี้เราได้รวบรวมความรู้ของเมืองออโรวิลล์ (Auroville)  ที่น่าสนใจของอินเดียมาฝาก เพื่อเอาใจคุณโดยเฉพาะ ใครที่สนใจก็ลองไปอ่านกันดูได้เลย

ออโรวิลล์ (Auroville) เมืองที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1968 ทัวร์อินเดีย โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นเมืองที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข โดยไม่เกี่ยงเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา หรือการเมือง โดยสถาปัตยกรรมในเมืองนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ โรเจอร์ แองเกอร์ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงเน้นไปที่เสน่ห์ของการผสมผสานระหว่างศิลปะแนวโมเดิร์นของฝั่งตะวันตกกับศิลปะดั้งเดิมของทางอินเดียเป็นหลักเริ่มต้นตั้งแต่เมืองเชนไน ต่อไปยังเมืองพอนดิเชอรี่ (Pondicherry) ซึ่ง ตึกรามบ้านช่อง และอาหารการกินยังมีกลิ่นอายของฝรั่งเศษอยู่ ซึ่งยังมีความสงบ เรียบง่าย ไม่เหมือนอยู่ในประเทศอินเดีย อีกที่หนึ่งได้แก่ ออโรวิลล์ (Auroville) จุดเด่นอยู่ที่การอยู่อาศัยแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และพัฒนาจิตวิญญาณของตน เมืองออโรวิลล์ได้รับการรับรองจากรัฐบาลอินเดียและยูเนสโก และเมืองแห่งนี้ดำเนินงานโดยมูลนิธิออโรวิลล์ ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอินเดียที่ให้การสนับสนุนทางการเงิน  และยูเนสโกก็ประกาศว่าเป็นโครงการที่มีผลต่ออนาคตของมนุษยชาติ และให้การสนับสนุนเต็มที่ด้วย
ภายในเมืองที่มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่  คุณแม่มีความฝันในการสร้างเมืองใหม่เพื่ออนาคตและการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของผู้คนจากทั่วโลก เป็นเมืองที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ทุกคนช่วยกันสร้างกันขึ้นมา  กะว่าเมืองในอุดมคติน่าจะมีประชากรประมาณ ๕๐,๐๐๐ คนมาใช้ชีวิตร่วมกัน  เป็นที่ทดลองงานวิจัยใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการออกแบบทางสถาปัตยกรรม การใช้พลังงานสะอาด การเกษตรธรรมชาติ แต่ทุกวันนี้มีคนอยู่ประมาณสองพันคน จาก ๔๔ ชาติ ตั้งแต่เด็กทารกถึงคนชราวัยแปดสิบ แต่ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นหนุ่มสาววัยสามสิบ พลเมืองหนึ่งในสามเป็นคนอินเดีย  ใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย ทมิฬ เพื่อสนทนาในเมืองนี้
เมืองออโรวิลล์แบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่โซน คือ โซนที่อยู่อาศัย โซนนานาชาติ เป็นที่ให้คนจากหลายชาติมาลองใช้ชีวิตสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้วยกัน  โซนอุตสาหกรรม เพื่อผลิตเครื่องมือพึ่งตัวเอง การสร้างพลังงานสีเขียว และเป็นศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอันเหมาะสมต่าง ๆ  และโซนวัฒนธรรม เป็นที่แลกเปลี่ยนงานศิลปะ กีฬาและวัฒนธรรม และถัดออกไปจะเป็นพื้นที่ป่าสีเขียว มีการฟื้นฟูป่า ทำการเกษตรธรรมชาติ และงานวิจัยสมุนไพรต่าง ๆ ไม่รวมโรงเรียนหลายแห่งที่มีหลักสูตรของตัวเองสำหรับลูกหลานของชาวออโรวิลล์
ออโรวิลล์ถือเป็นชุมชนพึ่งตัวเองจากพลังงานบริสุทธิ์ อาทิพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและพลังงานชีวภาพที่ก้าวหน้าที่สุดในอินเดีย พยายามผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองให้มากที่สุด อาทิบนดาดฟ้าของห้องครัวรวม มีการติดตั้งจานรับความร้อนแสงแดดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ เมตร สามารถปรุงอาหารได้ถึงวันละ ๑,๐๐๐ มื้อ
ตรงอาคารใกล้ปากทางออกเห็นรูปคุณแม่ขนาดใหญ่ติดอยู่ และภาพอาสาสมัครจากชาติต่าง ๆ ขณะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเมืองออโรวิลล์ขึ้นเมื่อสี่สิบปีก่อน ฟื้นฟูที่ดินอันแห้งแล้ง จนกลายเป็นป่าและพื้นที่สีเขียว น่ายกย่องความฝันของสุภาพสตรีเล็ก ๆ คนหนึ่งที่สามารถทำให้คนต่างชาติ ต่างศาสนาหลายพันคน มาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ สงบ ปราศจากความขัดแย้งทางการเมืองและไม่ทำร้ายโลกอีกต่อไป
            เป็นยังไงกันบ้างกับสถาปัตยกรรมในเมืองออโรวิลล์นี้ เป็นผลงานการออกแบบของ โรเจอร์ แองเกอร์ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงเน้นไปที่เสน่ห์ของการผสมผสานระหว่างศิลปะแนวโมเดิร์นของฝั่งตะวันตกกับศิลปะดั้งเดิมของทางอินเดีย แล้วยังเป็นชุมชนประหยัดพลังงานและพึ่งพาตนเองและเป็นสังคมที่มีความรักและสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกันไม่ว่าจะต่างศาสนาและความคิดเขาก็รักกัน รักกันนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น