วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ทัวร์บาหลี นูซาเปนิดา เกาะเล็กๆนอกชายฝั่ง








นูซาเปนิดา (Nusa Penida)
                                   วันนี้จะนำความรู้เล็กๆน้อยๆ ของเกาะเล็กๆเกาะหนึ่ง ของประเทศอินโดเนียเซีย มาฝากกันค่ะ เกาะเล็กๆเกาะนี้ก็คือ เกาะนูซาเปนิดา เกาะนูซาเปนิดานี้เคยมีประวัติน่ากลัวมากเลยทีเดียว จะน่ากลัวแค่ไหนเรามีคำตอบให้คุณค่ะ

                                     นูซาเปนิดา (Nusa Penida)เกาะเล็กๆนอกชายฝั่ง เป็นเกาะที่มีประวัติศาสตร์น่ากลัวเล็กน้อย เนื่องจากเคยเป็นที่กักกันนักโทษมาก่อน แต่ในปัจจุบันเป็นเกาะที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวพอสมควร เนื่องจากว่าเป็นเกาะที่เงียบสงบ และเหมาะกับการดำน้ำ หรือ เล่น กระดานโต้คลื่น นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็กๆ ใกล้เคียงอีก 2 เกาะ คือ นูซาเล็มบองกัน และนูซาเชนิงกัน ซึ่งมีเรือท่องเที่ยวให้บริการพานักท่องเที่ยวที่เดินทางไป ทัวร์บาหลี เกาะนูซาเปนิดา เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีเกาะขนาดเล็กอยู่ใกล้ ๆ คือ เกาะนูซาเลิมโบงัน และเกาะนูซาเจอนีงัน แยกจากเกาะบาหลีด้วยช่องแคบบาดุง ภายในเกาะเป็นเนินเขาที่มีระดับความสูงสูงสุด 524 เมตร อากาศแห้งกว่าเกาะบาหลี บนเกาะมีนกชุกชุมและเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์นกทั้งเกาะด้วยวิถีชุมชนแบบบาหลี นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงและมีพื้นที่สำหรับดำน้ำได้กว้าง ชาวเกาะนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพประมง และเลี้ยงสาหร่ายทะเล ในอดีต เคยเป็นที่จองจำนักโทษของอาณาจักรคลุงคุงในบาหลี ชาวบาหลีเชื่อว่าเกาะนี้เป็นดินแดนแห่งเวทมนตร์และเป็นที่อยู่ของพ่อมดในตำนาน เจอโร เกอเด เมอจาลิง บาหลีเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักเดินทางหลาย ๆ คนอยากไปเยือนสักครั้ง อาจเพราะความสวยงามของธรรมชาติ ที่ผสมผสานกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างลงตัว จึงไม่แปลกใจที่จะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวสำรวจความงดงามของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงมนต์เสน่ห์ที่ทำให้ใคร ๆ ก็หลงใหลบาหลี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น"อัญมณีแห่งมหาสมุทรอินเดีย" บาหลี (Bali)หรือ จังหวัดบาหลี เป็น 1 ใน 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย มีเมืองสำคัญคือ"เดนปาซาร์" (Denpasar)พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชาการทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ทัวร์บาหลี ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี ประชากรส่วนใหญ่บนเกาะบาหลีนับถือศาสนาฮินดู ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบาหลีได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็น ศาสนา ตลอดจนอักษรและภาษา ฯลฯ โดยนำมารวมกับวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น และนำใช้อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจให้ใครต้องใครดินทางไปเที่ยว "บาหลี" เพราะยังคงมีความงดงามตามธรรมชาติ อาจเพราะมีกฏหมายห้ามปลูกสิ่งก่อสร้าง ที่เป็นสิ่งแปลกปลอมจากธรรมชาติ อีกทั้งอาคารที่จะสร้างต้องมีความสูงห้ามเกิน 15 เมตร รวมถึงรักษาวิถีชีวิตและความเชื่อในแบบดั่งเดิมไว้ไม่เสื่อมคลาย อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน ทัวร์บาหลี แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ทัวร์บาหลี ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

                             อิอิ!! รู้แล้วใช่มั้ยค่ะ ว่าน่ากลัวอย่างไร แหมมมม !!! ก็เคยเป็นที่กักกันนักโทษมาก่อน เป็นใครบ้างหล่ะค่ะที่จะไม่กลัว จริงมั้ย???? แต่ตอนนี้ก็หายห่วงแล้วค่ะ เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวสนใจกันมาเที่ยวมากขึ้น เหมาะกับคนที่รักสงบ และรักในการโต้ครื่น *-*

NTP_BYUNGCHAN”




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น